เปลี่ยนการแสดงผล thA-AA+

สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ภาษา JavaScript

ภาษา JavaScript



ลิงค์ชั้นเรียน 

คลิกที่นี่เข้าห้องเรียน

 

JavaScript คืออะไร

JavaScript เป็นภาษาโปรแกรมที่นักพัฒนาใช้ในการสร้างหน้าเว็บแบบอินเทอร์แอคทีฟ ตั้งแต่การรีเฟรชฟีดสื่อโซเชียลไปจนถึงการแสดงภาพเคลื่อนไหวและแผนที่แบบอินเทอร์แอคทีฟ ฟังก์ชันของ JavaScript สามารถปรับปรุงประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการใช้งานเว็บไซต์ และในฐานะที่เป็นภาษาในการเขียนสคริปต์ฝั่งไคลเอ็นต์ จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักของ World Wide Web ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณท่องเว็บแล้วเห็นภาพสไลด์ เมนูดร็อปดาวน์แบบคลิกให้แสดงผล หรือสีองค์ประกอบที่เปลี่ยนแบบไดนามิกบนหน้าเว็บ นั่นคือคุณเห็นเอฟเฟกต์ของ JavaScript

JavaScript นำไปใช้ทำอะไร

 

แต่ก่อนเว็บเพจเป็นแบบคงที่คล้ายกับหน้าหนังสือ โดยหลักแล้วหน้าเพจคงที่แสดงข้อมูลในเค้าโครงที่ตายตัว และไม่ได้ทำทุกอย่างที่ตอนนี้เราคาดหวังจากเว็บไซต์สมัยใหม่ JavaScript เกิดขึ้นในฐานะเทคโนโลยีฝั่งเบราว์เซอร์เพื่อทำให้เว็บแอปพลิเคชันมีความเป็นไดนามิกมากขึ้น เมื่อใช้ JavaScript เบราว์เซอร์จะสามารถตอบสนองต่อการโต้ตอบของผู้ใช้และเปลี่ยนแปลงเค้าโครงเนื้อหาบนเว็บเพจได้

เมื่อภาษาผ่านการพัฒนาอย่างเต็มที่ นักพัฒนา JavaScript ก็สร้างไลบรารี เฟรมเวิร์ก และแนวทางปฏิบัติในการเขียนโปรแกรม แล้วเริ่มนำ JavaScript ไปใช้นอกเว็บเบราว์เซอร์ วันนี้ คุณสามารถใช้ JavaScript สำหรับทั่งการพัฒนาฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เราให้ตัวอย่างกรณีการใช้พบที่พบบ่อยบางส่วนในหัวข้อย่อยต่อไปนี้:

แต่ก่อนเว็บเพจเป็นแบบคงที่คล้ายกับหน้าหนังสือ โดยหลักแล้วหน้าเพจคงที่แสดงข้อมูลในเค้าโครงที่ตายตัว และไม่ได้ทำทุกอย่างที่ตอนนี้เราคาดหวังจากเว็บไซต์สมัยใหม่ JavaScript เกิดขึ้นในฐานะเทคโนโลยีฝั่งเบราว์เซอร์เพื่อทำให้เว็บแอปพลิเคชันมีความเป็นไดนามิกมากขึ้น เมื่อใช้ JavaScript เบราว์เซอร์จะสามารถตอบสนองต่อการโต้ตอบของผู้ใช้และเปลี่ยนแปลงเค้าโครงเนื้อหาบนเว็บเพจได้

เมื่อภาษาผ่านการพัฒนาอย่างเต็มที่ นักพัฒนา JavaScript ก็สร้างไลบรารี เฟรมเวิร์ก และแนวทางปฏิบัติในการเขียนโปรแกรม แล้วเริ่มนำ JavaScript ไปใช้นอกเว็บเบราว์เซอร์ วันนี้ คุณสามารถใช้ JavaScript สำหรับทั่งการพัฒนาฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เราให้ตัวอย่างกรณีการใช้พบที่พบบ่อยบางส่วนในหัวข้อย่อยต่อไปนี้:

JavaScript ทำงานอย่างไร

ภาษาโปรแกรมทั้งหมดทำงานด้วยการแปลไวยากรณ์ที่คล้ายภาษาอังกฤษเป็นโค้ดสำหรับเครื่อง จากนั้นระบบปฏิบัติการจะเรียกใช้โค้ดนั้น JavaScript ได้รับการจัดประเภทอย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นภาษาเขียนสคริปต์ หรือภาษาที่แปลผลแล้ว โค้ด JavaScript ได้รับการแปลผล—นั่นคือ แปลโดยตรงเป็นโค้ดภาษาสำหรับเครื่อง ด้วยกลไกล JavaScript ในขณะที่ในภาษาโปรแกรมอื่น ๆ คอมไพเลอร์จะคอมไพล์โค้ดทั้งหมดเป็นโค้ดสำหรับเครื่องในขั้นตอนที่แยกต่างหาก ดังนั้น ภาษาเขียนสคริปต์ทั้งหมดจึงเป็นภาษาโปรแกรม แต่ไม่ใช่ว่าภาษาโปรแกรมทั้งหมดจะเป็นภาษาเขียนสคริปต์เสมอไป

กลไก JavaScript

กลไก JavaScript คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกใช้โค้ด JavaScript กลไก JavaScript เคยเป็นเพียงตัวแปลผล แต่กลไกสมัยใหม่ทั้งหมดใช้การคอมไพล์แบบ Just-in-time หรือรันไทม์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์

JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์หมายถึงวิธีที่ JavaScript ทำงานในเบราว์เซอร์ของคุณ ในกรณี กลไก JavaScript จะอยู่ภายในโค้ดเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ ๆ ทั้งหมดจะมาพร้อมกับกลไก JavaScript ในตัว

นักพัฒนาแอปพลิเคชันเว็บจะเขียนโค้ด JavaScript ที่มีฟังก์ชันที่แตกต่างกันสัมพันธ์กับเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การคลิกเมาส์ หรือการเลื่อนเมาส์ผ่าน ฟังก์ชันเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลง HTML และ CSS

ต่อไปนี้เป็นภาพรวมว่า JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์ทำงานอย่างไร:

1   เบราว์เซอร์โหลดเว็บเพจเมื่อคุณเยี่ยมชมเว็บเพจ

2   ระหว่างการโหลด เบราว์เซอร์แปลงหน้าและองค์ประกอบทั้งหมดของหน้า เช่น ปุ่ม ป้าย และกล่องดรอปดาวน์ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่าโมเดลอ็อบเจกต์เอกสาร (DOM)

3   กลไก JavaScript ของเบราว์เซอร์แปลงโค้ด JavaScript เป็นไบต์โค้ด โค้ดนี้เป็นตัวกลางระหว่างไวยากรณ์ JavaScript และเครื่อง

4   เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การคลิกเมาส์บนปุ่ม จะกระตุ้นให้บล็อกโค้ด JavaScript ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ จากนั้นกลไกจะแปลผลไบต์โค้ด และทำการเปลี่ยนแปลง DOM

5   เบราว์เซอร์แสดงผล DOM ใหม่

JavaScript ฝั่งเซิร์ฟเวอร์

JavaScript ฝั่งเซิร์ฟเวอร์หมายถึงการใช้ภาษาเขียนโค้ดในลอจิกของเซิร์ฟเวอร์แบ็คเอนด์ ในกรณีนี้ กลไก JavaScript จะอยู่บนเซิร์ฟเวอร์โดยตรง ฟังก์ชัน JavaScript ฝั่งเซิร์ฟเวอร์สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล ดำเนินการทางตรรกะแบบต่าง ๆ และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ถูกกระตุ้นจากระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์ ข้อได้เปรียบหลักของการเขียนสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์คือคุณสามารถปรับแต่งการตอบสนองของเว็บไซต์โดยอ้างอิงตามข้อกำหนดของคุณ สิทธิ์เข้าถึงของคุณ และคำขอข้อมูลจากระบบได้เป็นอย่างมาก

ฝั่งไคลเอ็นต์เทียบกับฝั่งเซิร์ฟเวอร์

คำว่าไดนามิกอธิบาย JavaScript ทั้งฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ พฤติกรรมไดนามิกคือความสามารถที่จะอัปเดตการแสดงของเว็บเพจเพื่อสร้างเนื้อหาใหม่ตามที่จำเป็น ความแตกต่างระหว่าง JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่วิธีการที่ JavaScript สร้างเนื้อหาใหม่ โค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์สร้างเนื้อหาใหม่แบบไดนามิกด้วยการใช้ลอจิกของแอปพลิเคชันและปรับเปลี่ยนข้อมูลจากฐานข้อมูล ส่วน JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์สร้างเนื้อหาใหม่แบบไดนามิกภายในเบราว์เซอร์โดยใช้ลอจิกอินเทอร์เฟซผู้ใช้ และปรับเปลี่ยนเนื้อหาเว็บเพจที่อยู่บนไคลเอ็นต์อยู่แล้ว ความหมายมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในสองบริบทแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน และทั้งสองแนวทางทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานของผู้ใช้

นอกเหนือจากการนำไปใช้ในคุณสมบัติไดนามิกแล้ว ความแตกต่างอีกประการหนึ่งระหว่างการใช้ JavaScript สองแบบคือทรัพยากรที่โค้ดสามารถเข้าถึงได้ ทางฝั่งไคลเอ็นต์ เบราว์เซอร์จะควบคุมสภาพแวดล้อมรันไทม์ของ JavaScript โค้ดจึงสามารถเข้าถึงได้เพียงทรัพยากรที่เบราว์เซอร์อนุญาตให้โค้ดเข้าถึงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โค้ดไม่สามารถเขียนเนื้อหาลงในฮาร์ดดิสก์ของคุณได้เว้นแต่คุณจะคลิกปุ่มดาวน์โหลด ในทางกลับกัน ฟังก์ชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์สามารถเข้าถึงทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้ตามที่จำเป็น

ไลบรารี JavaScript คืออะไร

ไลบรารี JavaScript คือชุดส่วนย่อยของโค้ดที่เขียนไว้ก่อนซึ่งนักพัฒนาเว็บสามารถนำมาใช้ใหม่เพื่อใช้ฟังก์ชันมาตรฐานของ JavaScript โค้ดในไลบรารี JavaScript ถูกใส่เข้าในส่วนที่เหลือของโค้ดของโปรเจกต์ โดยดำเนินการตามความจำเป็น หากคุณมองว่าโค้ดแอปพลิเคชัน JavaScript เป็นบ้าน ไลบรารี JavaScript ก็เป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่นักพัฒนาสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานของบ้าน

ต่อไปนี้เป็นการใช้งานที่พบบ่อยสำหรับไลบรารี JavaScript:

การแสดงข้อมูลเป็นภาพ

การแสดงข้อมูลเป็นภาพมีความสำคัญสำหรับผู้ใช้เพื่อดูสถิติ เป็นต้น ในแผงผู้ดูแล แดชบอร์ด และตัววัดประสิทธิภาพ

ไลบรารีต่าง ๆ เช่น Chart.js, ApexCharts และ Algolia Places มีฟังก์ชันในตัวที่คุณสามารถใช้สร้างแอปพลิเคชันเว็บที่แสดงผลข้อมูลเป็นแผนภาพและแผนที่ได้

การจัดการ DOM

คุณสามารถใช้ไลบรารี เช่น jQuery และ Umbrella JS เพื่อทำให้การพัฒนาเว็บเป็นเรื่องง่าย เพราะไลบรารีเหล่านี้มีโค้ดสำหรับฟังก์ชันมาตรฐานของเว็บไซต์ เช่น แอนิเมชันเมนู แกลเลอรีภาพ ปุ่ม ไลท์บ็อกซ์ และอีกมากมาย

แบบฟอร์ม

การพัฒนาเว็บทั้งหมดใช้แบบฟอร์มสำหรับให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ติดต่อใครสักคน สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ และลงทะเบียนเข้าร่วมอีเวนต์ ไลบรารี JavaScript บางอย่าง เช่น wForms, LiveValidation, Validanguage และ qForms ทำให้ฟังก์ชันเกี่ยวกับแบบฟอร์มง่ายขึ้น ซึ่งรวมถึงการสอบทวนแบบฟอร์ม เค้าโครง เงื่อนไข และการเปลี่ยนสภาพ

ฟังก์ชันคณิตศาสตร์และข้อความ

แอปพลิเคชันเว็บมากมายต้องแก้สมการทางคณิตศาสตร์และประมวลผลข้อมูลวันที่ เวลา และข้อความ แทนที่จะส่งคำขอดังกล่าวทั้งหมดไปยังเซิร์ฟเวอร์ การจัดการคำขอเหล่านี้บางส่วนบนฝั่งไคลเอ็นต์จะมีประสิทธิภาพมากกว่า นักพัฒนาเว็บทำเช่นนี้ได้ด้วยการใช้ไลบรารี JavaScript เช่น Date.js, Sylvester และ JavaScript URL Library

เฟรมเวิร์ก JavaScript คืออะไร

เช่นเดียวกับไลบรารี JavaScript เฟรมเวิร์ก JavaScript คือชุดส่วนย่อยของโค้ดที่เขียนไว้ก่อนซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ไลบรารี JavaScript เป็นเครื่องมือเฉพาะทางสำหรับการใช้งานตามต้องการ เฟรมเวิร์ก JavaScript คือชุดเครื่องมือที่ครบถ้วนที่ช่วยก่อร่างและจัดระเบียบแอปพลิเคชันเว็บใด ๆ หากคุณมองว่าแอปพลิเคชัน JavaScript เป็นบ้าน เฟรมเวิร์ก JavaScript ก็เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ใช้สร้างบ้าน

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วนของการใช้เฟรมเวิร์ก JavaScript:

การพัฒนาแอปพลิเคชันเว็บและแอปพลิเคชันบือถือ

AngularJS คือเฟรมเวิร์กที่ทำให้การพัฒนาและทดสอบแอปพลิเคชันเว็บง่ายขึ้น เช่น แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ แอปพลิเคชันในเวลาจริง และแอปพลิเคชันวิดีโอ React Native เป็นอีกเฟรมเวิร์กหนึ่งที่สนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือที่แสดงผลแบบเนทีฟสำหรับ iOS และ Android

การพัฒนาเว็บแบบตอบสนอง

เว็บไซต์แบบตอบสนองให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่สอดคล้องกันในทุกอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น หน้าจอมือถือและแท็บเล็ตมีขนาดเล็กกว่าหน้าจอเดสก์ท็อปและแล็ปท็อป คุณอยากให้เว็บไซต์แสดงผลและนำเสนอข้อมูลอย่างแม่นยำแม้บนหน้าจอที่เล็กกว่า โดยไม่จำเป็นต้องตัดส่วนปลายของเว็บไซต์ออก เป็นต้น เมื่อใช้เฟรมเวิร์กเช่น Bootstrap และ Ember.js นักพัฒนาสามารถได้รับประโยชน์จากการออกแบบแบบตอบสนองและปรับแต่งรูปลักษณ์และความรู้สึกของเว็บไซต์ได้ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ

การพัฒนาแอปพลิเคชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์

Node.js คือเฟรมเวิร์ก JavaScript โอเพ่นซอร์สฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกใช้โค้ด JavaScript นอกเบราว์เซอร์ นักพัฒนาใช้เฟรมเวิร์กนี้เพื่อสร้างแอปพลิเคชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายที่ปรับขนาดได้ รวดเร็ว และเชื่อถือได้ เฟรมเวิร์กนี้สามารถจัดการคำขอ HTTP และ Data Stream สนับสนุนระบบไฟล์ และจัดการกระบวนการแบ็คเอนด์หลายกระบวนการพร้อมกัน
 


ส่วนเสริม

 
ผู้เขียน : Admin
โพสต์เมื่อ : 23 มิ.ย. 2568
ป้ายกำกับ : ภาษา JavaScript

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet
ความคิดเห็น
^